วันที่ 18 มิ.ย.56 เมื่อเวลา 10.00 น. พ.ต.อ.มนตรี ยิ้มแย้ม รอง ผบก.ผอ.สยศ. พร้อมด้วย พ.ต.ท.วีระชีพ ช.ชมเมือง สว.กลุ่มงานกิจกรรมการพิเศษ ผก.สยศ. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกันนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ชป.ศปทส.ตร.) และเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมนำหมายศาลจังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 18 มิ.ย.56 เข้าตรวจค้น บ้านเลขที่ 40/202 -203 หมู่ 10 ซอย รัตนธานี 9 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และบ้านเลขที่ 40/205 หมู่ 10 ซอย รัตนธานี 9 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังจากได้รับแจ้งว่ามีการลักลอบเลี้ยงสัตว์ป่าสงวน
จากการตรวจสอบบ้านเลขที่ 40/202-203 พบบ่อเพาะพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 100 ชนิด รวมถึงปลากระเบน นอกจากนี้ ยังพบกรงนกขนาดใหญ่ ภายในมีนกเงือก 2 ตัว ถูกเลี้ยงไว้ทางจ้าหน้าที่จึงรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ทราบภายหลังเป็นของ นายสุรินทร์ อาภารัตน์วิไล อายุ 63 ปี เป็นเจ้าของให้การว่า ตนได้เพาะเลี้ยงปลาเพื่อส่งออกเป็นเวลา 40 ปี เป็นกิจการของครอบครัว ทำมาตั้งแต่รุ่นพี่สาว ส่วนมากเป็นปลาส่งออกประเภทสวยงาม ส่วนใหญ่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น จำพวกปลากระเบน ปลากัด ปลาลิ้นหมา ตะพาบ กุ้ง และปู เลี้ยงสวยงามซึ่งเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่น โดยส่งออกในนามของบริษัท เอส แอนด์ พี อควอเลี่ยม จำกัด (มหาชน) ส่วนนกเงือกตนเลี้ยงไว้นานหลายปีแล้วโดยมีใบญาติถูกต้องทุกอย่าง
จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบบ้านเลขที่ 40/205 ภายในมีเนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งมีการเลี้ยงนกสวยงามหลากหลายพันธุ์เลี้ยงไว้ในกรงกว่า 30 กรง นอกจากนี้ยังพบกรงต้องสงสัยขนาดใหญ่ ซึ่งถูกรื้อถอนจนหมดกองเป็นเศษเหล็กวางไว้บริเวณใกล้ประตูบ้าน ทั้งนี้ ยังพบนกกรงหัวจุก 6 ตัว นกคุ่ม 6 ตัว และนกกระทาไฟอีก 2 ตัว
จากการตรวจค้นสามารถควบคุมตัว นายสุรพล ภูผาลี อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานที่ดังกล่าว จากการสอบสวน ทราบว่า บ้านหลังนี้เป็นของนายทองสุข จูประจักษ์ อายุ 70 ปี เป็นพี่ชายของนายสุรินทร์ โดยบ้านหลังก่อนหน้านี้ และเป็นเจ้าของสัตว์ภายในบ้านทั้งหมด ส่วนตนทำหน้าที่เป็นคนเลี้ยงดูสัตว์ภายในบ้าน ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท โดยทำงานที่นี่มากว่า 30 ปีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคนคอยให้อาหารสัตว์และเลี้ยงดู ซึ่งนกทุกตัวเจ้านายตนเลี้ยงไว้ขายให้กับชาวไทยและต่างชาติที่ชื่นชอบนกสวยงาม
นายสุรพล กล่าวอีกว่า ซากกรงเหล็กขนาดใหญ่ที่พบนั้นเป็นกรงเลี้ยงเสื้อโคร่งที่นายทองสุข เลี้ยงไว้ 3 ตัวแล้วตายไปทั้งหมดแล้วเมื่อประมาณ 10 ปี จากนั้นเมื่อไม่นานมานี้เจ้านายของตนเห็นว่าปล่อยกรงทิ้งไว้เฉยๆ จึงสั่งให้รื้อถอนออกไป ส่วนนกกรงหัวจุก นกคุ่ม และนกกระทา เป็นของตนได้มาจากน้องชายที่อยู่ภาคใต้ ซึ่งเลี้ยงไว้ดูเล่น ไม่คิดว่าจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายแต่อย่างใด
นายธีรภัทร เปิดเผยว่า วันนี้ได้เดินทางมาตรวจสอบเนื่องจากได้รับแจ้งจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปทส.ตร. ให้มาร่วมตรวจสอบหลังได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าบ้านหลังดังกล่าวได้ลักลอบเลี้ยงสัตว์สงวนโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการตรวจสอบพบว่ามีสัตว์ป่าที่ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองปี 2535 คือ นกกระทาไฟ 2 ตัว นกกรงหัวจุก 6 ตัว และนกคุ่ม 6 ตัว ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งอีกว่า พื้นที่ตรงนี้มีการลักลอบเลี้ยงเสือโคร่งอีกด้วย แต่จากการตรวจสอบแล้วพบว่ามีใบอนุญาตคุ้มครองอย่างถูกต้อง ซึ่งออกเมื่อปี 2546 แต่ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่พบเสือโคร่ง จึงต้องขอการยกเลิกใบอนุญาตดังกล่าว เนื่องจากสถานสถานที่นี้ไม่มีการเลี้ยงเสือโคร่งแล้ว ส่วนนกแก้วมาคอ พบว่ามีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง จึงจะขอประชาสัมพันธ์ผู้ที่เลี้ยงนกชนิดดังกล่าวให้จัดพื้นที่ปรับปรุงให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีผลกระทบประชาชนบ้านใกล้เรือนเคียงให้ได้รับความเดือดร้อนอีกต่อไป
ด้าน พ.ต.ท.วีระชีพ กล่าวว่า เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหา “ผิดตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535” กับนายสุรพล ไว้ก่อน ส่วนการตรวจสอบบ้านหลังแรกทางเจ้าหน้าที่ได้ประสานกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มาตรวจสอบสัตว์น้ำต้องสงสัย ส่วนบ้านหลังที่สอง ทางเจ้าหน้าที่จะสอบปากคำเจ้าของบ้าน และประสานให้เจ้าหน้าที่ไซเตส และกรมอุทยานแห่งชาติฯ มาตรวจสอบสัตว์ที่เลี้ยงไว้อย่างละเอียดอีกครั้ง
วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556
3 รางวัลพิสูจน์ผลงานวิจัยขององค์การสวนสัตว์ (ละมั่งหลอดแก้ว)
3 รางวัลพิสูจน์ผลงานวิจัยขององค์การสวนสัตว์ (ละมั่งหลอดแก้ว)
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาองค์การสวนสัตว์ได้เน้นการวิจัยสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าหายากของไทยมาโดยตลอด เช่น ช้างไทย เลียงผา กวางผา สมเสร็จ เก้งหม้อ นกกระเรียนไทย และละมั่ง ซึ่งเป็นโครงการวิจัย ต้นแบบที่บูรณาการทั้งการวิจัยในห้องปฏิบัติการ สวนสัตว์ และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ตลอดจนการนำคืนสู่ป่าธรรมชาติ ละมั่งเป็น ๑ ใน ๑๕ สัตว์ป่าสงวนของไทย และเป็นสัตว์ป่าตระกูลกวางที่มีสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยไม่มีเหลืออยู่ในธรรมชาติของประเทศไทยมากว่า ๕๐ ปี เนื่องจากการถูกล่า และถูกบุกรุกพื้นที่ป่า ในประเทศไทยเคยมีละมั่ง ๒ สายพันธุ์ คือพันธุ์ไทย (Rucervus eldii siamensis) และพันธุ์พม่า (Rucervus eldii thamin)โดยทั้งสองชนิดสูญพันธุ์จากธรรมชาติและมีเหลืออยู่ในสภาพการเพาะเลี้ยงเท่านั้น (ละมั่งพันธุ์ไทยมีไม่เกิน 50 ตัวในทุกแหล่งเพาะเลี้ยงของไทย ในขณะที่ละมั่งพันธุ์พม่า น่าจะมีอยู่มากกว่า 1,000 ตัวในประเทศไทย)
จากปัญหาการผสมเลือดชิด (inbreeding) จึงต้องมีการพัฒนาให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อการดำรงประชากรอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ ได้แก่ การเก็บเชื้ออสุจิแช่แข็ง การผสมเทียม การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (in vitro fertilization; IVF) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์พันธุ์ และรักษาพันธุกรรมที่ดีของสัตว์ป่าไว้ให้ยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ช่วยผลิตลูกสัตว์จากไข่ (โอโอไซต์) และตัวอสุจิแช่แข็งจากสัตว์ที่ตายแล้วด้วย โครงการการขยายพันธุ์ละมั่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ให้มีพันธุกรรม และสุขภาพที่ดี และสามารถนำคืนละมั่งสู่ธรรมชาติได้ต่อไป ให้สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ในผืนป่าเมืองไทยอีกครั้ง
ด้วยการต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยี ทีมงานวิจัยองค์การสวนสัตว์นำโดย น.สพ. สุเมธ กมลนรนาถ น.สพ.ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ และสพ.ญ.ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมงานสวนสัตว์เปิดเขาเขียว และความร่วมมือของหลายหน่วยงาน ได้แก่ ผศ.น.สพ.ดร. ธีรวัฒน์ ธาราศานิต จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.น.สพ.ดร. สิทธวีร์ ทองทิพย์ศิริเดช จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Dr. Debra Berg จากสถาบัน Ag Research ประเทศนิวซีแลนด์ และ Dr. Pierre Comizzoli จาก Smithsonian Conservation Biology Institute ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ขั้นสูง ในการผลิตตัวอ่อนของละมั่งพันธุ์พม่าด้วยวิธีการ ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (ผลิตตัวอ่อนหลอดแก้ว หรือ ไอวีเอฟ, in vitro fertilization; IVF) เพื่อศึกษาการพัฒนาของตัวอ่อนละมั่ง ซึ่งตัวอ่อนเกิดจากการนำไข่ (โอโอไซต์) จากรังไข่ของละมั่งที่ได้รับการกระตุ้นให้มีการพัฒนาของฟอลลิเคิล และเลี้ยงร่วมกับตัวอสุจิจากการแช่แข็งซึ่งคัดเลือกจากพ่อแม่ที่มีพันธุกรรมดี ให้ตัวอ่อนมีการพัฒนาภายนอกร่างกายที่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับร่างกายละมั่ง และได้ย้ายฝากตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ของแม่ละมั่งจนประสบความสำเร็จ แม่ตัวรับสามารถคลอดลูกละมั่งหลอดแก้วเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
องค์การสวนสัตว์เห็นว่าความสำเร็จดังกล่าวนั้นเป็นความภาคภูมิใจของชาติไทย และเหมาะสมที่จะนำลูกละมั่งหลอดแก้วนี้ขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ และขอพระราชทานชื่อลูกละมั่งเพื่อเป็นสิริมงคล ราชเลขาธิการในพระองค์ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อลูกละมั่ง ว่า "โรหิสรัตน์" มีความหมายคือ (โรหิส –ละมั่ง) + (รัตน์ – แก้ว) = ละมั่งแก้ว นำมาซึ่งความปิติยินดีในพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่คณะวิจัยทั้งหลาย รวมทั้งผู้ที่ได้ทราบข่าวในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ทีมนักวิจัย และผู้บริหารขององค์การสวนสัตว์
และจากความสำเร็จครั้งนี้องค์การสวนสัตว์ ยังได้รับรางวัลด้านการวิจัยจากหลายสถาบันอาทิ เช่น
- รางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศจากคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม
ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา

- รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี ๒๕๕๖ ด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร ประเภทรางวัลระดับดีเด่นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

- รางวัลเหรียญบรอนซ์ จากงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้น หรือ นวัตกรรม นานาชาติ ณ เมืองเจนีวาสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556


ปัจจุบันโรหิสรัตน์ อายุได้ 1ปี 8 เดือนแล้ว ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัว ณ ศูนย์วิจัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
องค์การสวนสัตว์ ยังคงมุ่งมั่น เพื่อเร่งวิจัยต่อยอดการวิจัยการขยายพันธุ์ด้านเทคนิคหลอดแก้วนี้กับละมั่งพันธุ์ไทยซึ่งหายากกว่าละมั่งพันธุ์พม่า และต่อยอดสู่สัตว์ชนิดอื่นๆเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่สำคัญ
ขอบคุณเนื้อหาดีๆจากhttp://www.zoothailand.org
ขอบคุณเนื้อหาดีๆจากhttp://www.zoothailand.org
ช้างป่าลาวข้ามมาไทย และปัญหาสัตว์ป่าสงวนทวีความรุนแรงในลาว
ช้างป่าจำนวน 3-4 เชือก ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงจากฝั่งลาวไปยังฝั่งไทย โดยเชื่อว่ามีสาเหตุสำคัญมาจากการลักลอบสัตว์ป่าเพื่อการค้าอย่างผิดกฎหมายในลาวที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในจังหวัดนครพนมของไทย ให้การยืนยันว่า ช้างป่าจำนวนอย่างน้อย 3 ตัว ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงจากแขวงบอลิคำไซของลาว เข้าไปยังเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมเป็นต้นมาแล้ว และในขณะนี้ช้างป่าจำนวนดังกล่าวก็ได้เข้าไปอยู่ในเขตวนอุทยานภูลังกา ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครพนมกับจังหวัดบึงกาฬ
สาเหตุที่ทำให้ช้างป่าจำนวนดังกล่าวนี้อพยพข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวไปหาไทยนั้น ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่าเป็นสาเหตุใดแน่นอน หากแต่เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในจังหวัดนครพนมของไทยเชื่อว่า เกิดขึ้นเรื่องจากช้างป่าถูกล่าอยู่ในลาว ดังที่ได้ให้ปากคำว่า
“เจ้าหน้าที่อุทยานก็ได้เฝ้าระวังจับตา ก่อนที่ช้างโขลงดังกล่าวจะเดินทางต่อไปทางอำเภอบึงโขงหลง และต่อไปทางอำเภอบุ่งคล้า ตามที่ได้ข่าวว่ามีคนไล่ล่าช้างกลุ่มดังกล่าวอยู่ ช้างจึงหนีข้ามแม่น้ำมาฝั่งไทย แต่ความจริงนั้นก็ยังไม่แน่ชัดเนื่องจากเป็นเพียงคำเล่าลือกันไปมาเท่านั้น”
ทางด้านเจ้าหน้าที่วนอุทยานแห่งชาติภูลังกาของไทย ยังเปิดเผยว่า ช้างตัวที่ใหญ่ที่สุดเป็นช้างพลายเพศผู้ สูงถึงสามเมตร และหนักกว่าสามตัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า งวงของช้างดังกล่าวนี้มีบาดแผลคล้ายกับรอยลูกปืน จึงมีความเป็นไปได้ว่า ช้างป่าเหล่านี้ได้พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวมายังไทยเพราะถูกกลุ่มพรานล่าสัตว์ป่าในลาวนั่นเอง
ก่อนหน้านี้ องค์การอนุรักษ์ช้างเอเชีย (Elefant Asia) รายงานว่าจำนวนประชากรช้างในลาวยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลครั้งล่าสุด ประเมินได้ว่า ในปัจจุบันยังมีประชากรช้างบ้านที่เหลืออยู่ในลาวไม่เกิน 470 ตัวเท่านั้น ส่วนประชากรช้างป่าก็เชื่อว่าเหลือน้อยกว่าช้างบ้านอย่างแน่นอน เนื่องจากช้างป่ายังต้องเผชิญกับการถูกล่าโดยกลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่าอยู่ตลอด
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประกอบกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนักหน่วงทั่วประเทศลาว ทำให้ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารของช้างป่าถูกทำลาย ซึ่งก็ได้ส่งผลต่อระบบนิเวศและการผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าอีกด้วย ถ้าหากว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ก็เชื่อได้ว่าช้างป่าในลาวจะสูญพันธุ์ไปภายใน 50 ปีนี้อย่างแน่นอน
ทางด้านองค์การคุ้มครองสัตว์ป่า (WCS) ที่ให้การช่วยเหลือรัฐบาลลาวในการอนุรักษ์เสือโคร่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-พูเลียในภาคเหนือของลาวนั้น ก็รายงานว่า ปัจจุบันมีประชากรเสือโคร่งในเขตป่าสงวนดังกล่าวเหลือเพียงไม่เกิน 30 ตัว และยังมีแนวโน้มว่าจะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากการลักลอบล่าเสือโคร่งในลาวเพื่อส่งออกไปต่างประเทศยังดำรงอยู่เรื่อยมา โดยถึงแม้ว่า WCS จะร่วมมือกับทางการลาดตระเวนในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-พูเลีย ตั้งแต่ปี 2010 มาแล้วก็ตาม หากแต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ทั่วถึง และปัญหานี้ก็เกิดกับกับเขตป่าสงวนแห่งชาติทุกแห่งอีกด้วย
นอกจากปัญหาประชากรช้าง เสือ และสัตว์ป่าอื่นลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับประชากรปลาบึกในแม่น้ำโขงที่ลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ทำให้ทางสหรัฐอเมริกา นำโดยท่านคาเรน บี. สจ๊วต เอกอัครรัฐทูตสหรัฐอเมริกาประจำสปป.ลาว ได้ส่งมอบอุปกรณ์ติดตั้งสัญญาณติดตามการเคลื่อนไหวของปลาบึกในแม่น้ำโขง ทั้งนี้เนื่องจากประชากรปลาบึกได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
“ลูกกวางผา” และ “ลูกเลียงผา” สัตว์ป่าหายากของไทยที่จัด เป็นสัตว์ป่าสงวนใกล้สูญพันธุ์และถูกจัดอยู่ในบัญชีลำดับ 1 ในอนุสัญญา CITES
เชียงใหม่ไนท์ซาฟาประสบความสำเร็จ รีเพาะพันธุ์“ลูกกวางผา” และ “ลูกเลียงผา” สัตว์ป่าหายากของไทยที่จัด เป็นสัตว์ป่าสงวนใกล้สูญพันธุ์และถูกจัดอยู่ในบัญชีลำดับ 1 ในอนุสัญญา CITES
ดร.ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้อำนวยการสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมสมาชิกใหม่ “ลูกกวางผา” และ “ลูกเลียงผา” สัตว์ป่าสงวนของไทย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายาก และจัดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดย “ลูกกวางผา” 1 ตัว ยังไม่ทราบเพศ เกิดจาก“แม่แสงดาว” อายุ 3 ปี และ “พ่อศิลป์” พ่อพันธุ์ชั้นดีที่ให้กำเนิดลูกกวางผาที่แข็งแรงแล้วหลายคอก นับเป็นสมาชิกลูกกวางผาที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพาะพันธุ์ได้เองเป็นตัวที่ 20 ปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีสมาชิกกวางผา ทั้งหมด 26 ตัว กวางผา หรือ ม้าเทวดา จัดเป็น 1 ใน 15 ชนิดของสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทยและอนุสัญญาไซเตส นับเป็นสัตว์ป่าที่หาดูได้ยาก โดยในธรรมชาติสามารถพบได้บริเวณเทือกเขาต้นน้ำปิง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยและแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่และตาก และเทือกเขาบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา แม่แสะ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ปัจจุบันประชากรกวางผาได้ลดจำนวนลงไปมากเข้าขั้นวิกฤติ เนื่องจากสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยจำกัดเป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์อื่นไม่สามารถ อาศัยอยู่ได้ ประกอบกับนิสัยที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอาณาเขตครอบครองแน่นอน ทำให้ถูกตามล่าได้ง่าย ขณะเดียวกัน ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าน้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูก ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาไปทำน้ำมัน
สมาชิกใหม่อีกชนิดหนึ่ง “ลูกเลียงผา” จำนวน 2 ตัว เพศผู้ เกิดจากแม่ปีใหม่ และ เป็นเพศเมีย เกิดจากแม่ตองหก มีพ่อตัวเดียวกันคือ “พ่อตองอู” นับเป็นลูกเลียงผาที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพาะพันธุ์ได้เองเป็นตัวที่ 5 และตัวที่ 6 ส่งผลให้มีสมาชิกเลียงผาทั้งหมดจำนวน 8 ตัว เป็นเพศผู้ 5 ตัว เพศเมีย 3 ตัว เลียงผามีลักษณะคล้ายกับกวางผา แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขางอกยาวต่อเนื่องทุกปี มีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวจะแปรเปลี่ยนไปตามอายุ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์ มีขนหยาบและไม่เป็น 2 ชั้นเหมือนกวางผา ใต้ตามีต่อมน้ำมันใช้สำหรับถูตามต้นไม้หรือโขดหินเพื่อประกาศอาณาเขต พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย จนถึงเอเชียตะวันออก โดยมักอยู่ตามหน้าผาหรือภูเขาสูง ในปัจจุบันประชากรเลียงผามีจำนวนลดลงมาก เนื่องจากการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย ผู้ที่สนใจสามารถชมความน่ารักของสมาชิกใหม่ได้ทุกวัน ณ ส่วนแสดงซาวันนาซาฟารี ดร.ศราวุฒิ ศรีศกุน ผู้อำนวยการสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมสมาชิกใหม่ “ลูกกวางผา” และ “ลูกเลียงผา” สัตว์ป่าสงวนของไทย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายาก และจัดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ โดย “ลูกกวางผา” 1 ตัว ยังไม่ทราบเพศ เกิดจาก“แม่แสงดาว” อายุ 3 ปี และ “พ่อศิลป์” พ่อพันธุ์ชั้นดีที่ให้กำเนิดลูกกวางผาที่แข็งแรงแล้วหลายคอก นับเป็นสมาชิกลูกกวางผาที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพาะพันธุ์ได้เองเป็นตัวที่ 20 ปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีสมาชิกกวางผา ทั้งหมด 26 ตัว กวางผา หรือ ม้าเทวดา จัดเป็น 1 ใน 15 ชนิดของสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทยและอนุสัญญาไซเตส นับเป็นสัตว์ป่าที่หาดูได้ยาก โดยในธรรมชาติสามารถพบได้บริเวณเทือกเขาต้นน้ำปิง ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยและแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่และตาก และเทือกเขาบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา แม่แสะ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ปัจจุบันประชากรกวางผาได้ลดจำนวนลงไปมากเข้าขั้นวิกฤติ เนื่องจากสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยจำกัดเป็นหน้าผาสูงชันที่สัตว์อื่นไม่สามารถ อาศัยอยู่ได้ ประกอบกับนิสัยที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอาณาเขตครอบครองแน่นอน ทำให้ถูกตามล่าได้ง่าย ขณะเดียวกัน ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าน้ำมันกวางผามีสรรพคุณใช้เป็นยาสมานกระดูก ทำให้กวางผาถูกฆ่าตายเพื่อเอาไปทำน้ำมัน


สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)